01

01

การสงเคราะห์ด้านสวัสดิการต่างๆ

 

การสงเคราะห์ด้านสวัสดิการต่างๆ
     .
      กองสวัสดิการ ฝ่ายสวัสดิการสงเคราะห์ให้การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกนอกประจำการ และทหารผ่านศึกนอกประจำการทุกชั้นบัตร ตลอดจนครอบครัว เพิ่มเติมจากทางราชการ เป็นการช่วยเหลือทั้งด้านบริการและการสงเคราะห์เป็นตัวเงิน ในด้านการสวัสดิการโดยสงเคราะห์ช่วยเหลือบำบัดทุกข์บำรุงสุข สงเคราะห์ด้านการศึกษา การกุศลต่าง ๆ หลายประเภท ดังต่อไปนี้
๑. การสงเคราะห์ค่าคลอดบุตร
            ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกหญิงหรือภริยาของทหารผ่านศึกที่กำลังกระทำหน้าที่ในการสงครามหรือในการรบหรือป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรหรือในการปราบปรามการจลาจล ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด คราวละ ๒,๐๐๐ บาท ต้องยื่นคำร้องภายในระยะเวลา ๖ เดือน นับแต่วันคลอด
     หลักฐาน
     - บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวประชาชน
     - ใบสำัคัญการสมรส
     - สูติบัตร
     - สำเนาทะเบียนบ้่านของผู้รับการสงเคราะห์, ภรรยาและบุตร
     - หนังสือรับรองผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด
     - คำสั่งให้เจ้าหน้าที่พ้นจากหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่ราชการ
๒. การสงเคราะห์เงินเลี้ยงชีพรายเดือน
          ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ ที่พิการทุพพลภาพหรือพิการจากการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
     ๒.๑ ผู้ที่ได้รับบำนาญพิเศษ ให้ได้รับการสงเคราะห์เดือนละ ๕,๘๐๐ บาท
     ๒.๒ ผู้ที่ไม่ได้รับบำนาญพิเศษ ให้ได้รับการสงเคราะห์เืดือนละ ๘,๐๖๐ บาท
     ๒.๓ ผู้ที่ไม่ได้รับบำนาญพิเศษ แต่ได้รับบำนาญปกติและเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัด บำนาญรวมกัน ไม่ถึงเดือนละ ๘,๐๖๐ บาท ให้ได้รับการสงเคราะห์จนครบเดือนละ ๘,๐๖๐ บาท  
      หลักฐาน
     - บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑
     - สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมฉบับจริง
     - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  
ใบสำคัญสำหรับคนพิการทุพพลภาพหรือมีโรคซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ (สด.๖) หรือใบสำคัญความเห็นแพทย์
     - หนังสือสั่งจ่ายบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพของกรมบัญชีกลาง หรือหนังสือรับรองจากต้นสังกัดว่าไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญจากทางราชการ หรือหนังสือรับรองการรับบำนาญปกติและเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ
๓. การสงเคราะห์เงินช่วยเหลือเป็นค่าครองชีพพิเศษ
        ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ ที่พิการทุพพลภาพขนาดหนักจนเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งในการประกอบอาชีพซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือดำรงชีพตามระเบียบ บ.ท.ช. เดือนละ ๑,๐๐๐ บาท 
     หลักฐาน
     - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
*เป็นกรณีสงเคราะห์ช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ผู้ได้รับเงินช่วยเหลือดำรงชีพตามระเบียบ บ.ท.ช.
๔. การสงเคราะห์เงินช่วยค่าครองชีพเพื่อผดุงเกียรติเป็นรายเดือน
        ให้การสงเคราะห์แก่หทารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ ที่พิการทุพพลภาพหรือพิการที่ประพฤติตนเหมาะสมกับเกียรติของทหารผ่านศึก และไม่กระทำการใดๆ ให้เป็นที่เสียหายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือเกียรติคุณของทหารผ่านศึกหรือองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก จะได้รับการสงเคราะห์เงินช่วยค่าครองชีพเพื่อผดุงเกียรติเป็นรายเดือน เดือนละ ๔,๐๐๐ บาท
        ผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพื่อผดุงเกียรติเป็นรายเดือนผู้ใดเป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีหรือเป็นบุคคลล้มละลาย หรือต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดที่มิได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ไม่มีสิทธิรับเงินช่วยค่าครองชีพเพื่อผดุงเกียรติเป็นรายเดือน
        ผู้ไม่มีิสิทธิรับเงินช่วยค่าครองชีพเพื่อผดุงเกียรติเป็นรายเดือน เมื่อได้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย หรือได้พ้นโทษจำคุกมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน ถ้าองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พิจารณาเห็นว่า ผู้นั้นมีความประพฤติเหมาะสมสมควรได้รับการสงเคราะห์อีก ก็ให้องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกพิจารณาให้การสงเคราะห์ให้ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ ผู้นั้นได้รับการสงเคราะห์เงินช่วยค่าครองชีพเพื่อผดุงเกียรติเป็นรายเดือนต่อไปเป็นรายๆไป 
     หลักฐาน
     - บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑
     - สำเนาทะเบียนบ้าน 
     - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
ใบสำคัญสำหรับคนพิการทุพพลภาพหรือมีโรคซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ (สด.๖)
        หรือใบสำคัญความเห็นแพทย์
๕. การสงเคราะห์เงิินเชิดชูเกียรติ
        ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีด้วยความกล้าหาญ เหรียญดุษฎีมาลาเข็มกล้าหาญ หรือเหรียญกล้าหาญ เดือนละ ๕,๐๐๐ บาท 
     หลักฐาน
     - บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑
     - สำเนาทะเบียนบ้าน 
     - สำเนาราชกิจจานุเบกษาการได้รับพระราชทานเหรียญ 
     - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
๖. การสงเคราะห์เงินช่วยเหลือรายเดือน แก่ครอบครัวทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่ ๑
        ให้การสงเคราะห์แก่ผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ ๑ ครอบครัวเดือนละไม่เกิน ๓,๖๔๐ บาท แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งตามที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเห็นสมควร ได้แก่ บิดาหรือมารดา สามีหรือภริยา หรือบุตร 
     หลักฐาน
     - บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑
     - บัตรประจำตัวประชาชน 
     - ใบสำคัญการสมรส (กรณีบิดามารดา หรือภรรยา) 
     - สำเนาทะเบียนบ้าน
     - มรณบัตรของผู้ที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติราชการสนาม
     - สูติบัตร (กรณีบุตร)
     - หนังสือสละสิทธิการรับเงินช่วยเหลือรายเดือน (กรณีบิดาหรือมารดา) 
๗. การสงเคราะห์เงินช่วยเหลือรายเดือนแก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๒, ๓ และ ๔
         ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๒ บัตรชั้นที่ ๓ และบัตรชั้นที่ี ๔ ที่พิการจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือพิการทุพพลภาพหรือพิการจนเป็นอุปสรรคสำคัญในการประกอบอาชีพ จากเหตุอื่น และอัตคัดขัดสน ขาดผู้อุปการะ เดือนละไม่เกิน ๓,๑๒๐ บาท 
     หลักฐาน
     - บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ
     - บัตรประจำตัวประชาชน 
     - สำเนาทะเบียนบ้าน 
     - ใบรับรองแพทย์ และ/หรือใบสำคัญความเห็นแพทย์ จาก รพ. ของทางราชการ ว่ามีความ
        พิการทุพพลภาพหรือพิการ
     - หนังสือการรับเงินบำบาญพิเศษ หรือบำนาญปกติ หรือหนังสือการรับเงินตอบแทนจาก
       ทางราชการ (กรณีที่มียศ)   
๘. การสงเคราะห์เงินเลี้ยงชีพพิเศษ
          ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ ที่พิการทุพพลภาพหรือพิการจากการปฏิบัติหน้าที่ และได้รับเงินเลี้ยงชีพรายเดือน ให้มีสิทธิขอรับเงินเลี้ยงชีพพิเศษ จำนวนหนึ่งในสามของเงินช่วยเหลือแก่ทายาทที่มีสิทธิได้รับ เพื่อช่วยเหลือในการดำรงชีพที่สมัครใจขอรับ โดยจ่ายให้ครั้งเดียว สำหรับผู้มีหนี้สินผูกพันค้างชำระให้หักชำระหนี้ก่อน ทั้งนี้ไม่เกินวงเงินเลี้ยงชีพพิเศษที่จะได้รับ และเมื่อขอรับการสงเคราะห์แล้วจะไม่มีสิทธิกู้ยืมเงินประเภทใดๆจาก อผศ. 
     หลักฐาน
     - บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑
     - หนังสือสั่งจ่ายบำนาญพิเศษ (กรณีเป็นผู้ที่ได้รับบำนาญพิเศษ) หรือหนังสือสั่งจ่ายบำนาญ
       ปกติและเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (กรณีเป็นผู้ได้รับบำนาญปกติอย่างเดียว)       สำเนาทะเบียนบ้าน 
     - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
๙. การสงเคราะห์ส่งเสริมสิทธิและเกียรติ
    ๑. ช่วยขอสิทธิพิเศษในกิจการของเอกชนผู้มีจิตศรัทธา ดังต่อไปนี้
         ๑.๑ ช่วยขอสิทธิพิเศษในกิจการขนส่งของเอกชนผู้มีจิตศรัทธา ให้ลดค่าโดยสารบางส่วน
         ๑.๒ ขอความร่วมมือจากทนายความให้ช่วยเหลือด้านอรรถคดีโดยไม่คิดค่าว่าความหรือ
               คิดราคา พอสมควร
     ๒. ช่วยขอสิทธิพิเศษในกิจการของทางราชการ และรัฐวิสาหกิจ ดังต่อไปนี้
         ๒.๑ ขอที่ดินที่ทางราชการจัดสรรให้เข้าอยู่อาศัยและทำกิน
         ๒.๒ ขอความร่วมมือในเรื่องที่อยู่อาศัย
         ๒.๓ ขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมการเช่าที่ดิน การเช่าอาคาร
         ๒.๔ ขอพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ เอกสารคำแนะนำอื่นๆ
         ๒.๕ ขอความร่วมมือในการรับทหารผ่านศึกนอกประจำการ ครอบครัวทหารผ่านศึกและ
                ทหารนอกประจำการเข้าฝึกงานอาชีพในโรงงานหรือขอวิทยากรเพื่อทำการฝึก
                อบรมอาชีพ หรือสาธิตการผลิตสินค้า
         ๒.๖ ฝากเข้าทำงาน
         ๒.๗ ช่วยเร่งรัดเรื่องบำนาญพิเศษหรือเงินรายได้จากทางราชการ
         ๒.๘ ขอใช้สถานที่จำหน่ายผลิตผลการเกษตร ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และเครื่องอุปโภค
                บริโภค
         ๒.๙ ขอเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภค
         ๒.๑๐ ขอสิทธิพิเศษในกิจการขนส่งให้ลดค่าโดยสารและค่าขนส่งตามที่เห็นสมควร
         ๒.๑๑ ขอให้สถานพยาบาลต่างๆ ลดค่ารักษาพยาบาล ค่ายา และค่าบริการต่างๆ ให้
     ๓. จัดให้มีการบำเพ็ญกุศลทางศาสนาในวาระอันเป็นที่ระลึกของทหารผ่านศึกนอกประจำการที่นับถือศาสนาต่างๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
     ๔. ร่วมเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลทางศาสนา แก่ผู้ถึงแก่ความตายในสงครามหรือในการรบหรือป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปรามการจลาจล ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด คราวละไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ บาท        
๑๐. การสงเคราะห์เยี่ยมเยียนทหารผ่านศึกและครอบครัวเป็นครั้งคราว
       จ่ายเงินเยี่ยมเยียน ช่วยเหลือทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก หรือทหารนอกประจำการเป็นครั้งคราว ตามที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเห็นสมควร ในวงเงินคนละไม่เกิน ๕๐๐ บาท และอาจจัดสิ่งของเยี่ยมเยียนตามความเหมาะสม
๑๑. การสงเคราะห์เยี่ยมเยียนหทารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการปฏิบัติหน้าที่ ฯ
        จ่ายเงินเยี่ยมเยียนช่วยเหลือทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการกระทำหน้าที่ในการสงครามหรือในการรบหรือป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปรามการจลาจลตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล คนละ ๑,๐๐๐ บาท
๑๒. การสงเคราะห์เงินช่วยเหลือครั้งคราว
           ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการทุกชั้นบัตร และผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึกชั้นที่ ๑ ที่ยากจน ขัดสน ซึ่งมีเหตุจำเป็นและความเดือดร้อนเฉพาะหน้า คนละปีละไม่เกิน ๕๐๐ บาท ซึ่งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก จะให้การสงเคราะห์กรณีจำเป็น และเดือดร้อนเฉพาะหน้า ดังต่อไปนี้
     ๑. เจ็บป่วย เป็นเหตุให้ต้องหยุดประกอบอาชีพ เกิน ๑๕ วัน ขึ้นไป โดยที่นักสังคมสงเคราะห์ หรือเจ้าหน้าที่ที่ให้การสงเคราะห์ไปเยี่ยมถึงที่พักอาศัยพบว่าเป็นจริง หรือมีใบรับรองแพทย์มาแสดงก็ให้การสงเคราะห์ได้
     ๒. ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ หรือมีความเดือดร้อนเฉพาะหน้า จนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติได้โดยที่นักสังคมสงเคราะห์พิจารณาเห็นสมควร
     ๓. เดือดร้อนเกี่ยวกับค่าพาหนะเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือย้ายไปประกอบอาชีพในสถานที่แห่งอื่น
     ๔. ต้องมิใช่ผู้มีรายได้ประจำ หรือต้องไม่ได้รับบำนาญ เบี้ยหวัด เงินเดือน หรือค่าจ้างจากทางราชการรัฐวิสาหกิจ และ อผศ. ยกเว้นผู้ที่ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ ที่ไม่เป็นพนักงาน ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ และพนักงาน อผศ.
            การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือครั้งคราว ผู้ขอรับการสงเคราะห์จะต้องมาเขียนคำร้องด้วยตนเอง
เนื่องจากเป็นเงินสงเคราะห์ที่ให้เมื่อมีเหตุเดือดร้อน จำเป็น เจ้าหน้าที่จะพิจารณาให้การช่วยเหลือ
ตามเหตุความเดือดร้อนจำเป็นเฉพาะหน้า แต่ไม่ิเกินวงเงินที่กำหนด มิใช่เป็นเงินสิทธิดังเช่น
เงินเบี้ยหวัด บำนาญ หรือเงินเดือน  
๑๓. การสงเคราะห์ค่าประสบภัยพิบัติ
          ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกที่กำลังกระทำหน้าที่ในการสงคราม หรือในการรบหรือป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปรามการจลาจลตามที่กระทรวงกลาโหม หรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดและครอบครัวทหารผ่านศึกนอกประจำการทุกชั้นบัตรและผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่ ๑ (เว้นแต่บุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว)จะได้รับการสงเคราะห์ ดังนี้
       ๑. ที่อยู่อาศัยประสบภัยพิบัติ ผู้รับการสงเคราะห์ต้องเป็นเจ้าบ้าน ถ้าได้รับความเสียหายบางส่วนจะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริง แต่ไม่เกิน ๓,๕๐๐ บาท ถ้าเสียหายทั้งหลังจะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริง แต่ไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท
       ๒. พืชผลทางการเกษตร สัตว์เลี้ยง อาคารสถานที่ หรือเครื่องมือสำหรับประกอบอาชีพตามที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกกำหนด ผู้รับการสงเคราะห์ต้องเป็นผู้ดำเนินการและเป็นเจ้าของที่ดินหรือมีสัญญาเช่าที่ดินในการประกอบอาชีพ จะได้รับการสงเคราะห์เท่้าที่เสียหายจริง รายละไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
๑๔. การสงเคราะห์ค่าการศึกษา
    ๑. ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ สามีหรือภริยาของทหารผ่านศึกนอกประจำการบัตรชั้นที่ ๑ บุตรของทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ สามีหรือภริยา ผู้ได้รับบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึกชั้นที่ ๑ บุตรผู้ได้รับบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึกชั้นที่ ๑ และบุตรของทหารผ่านศึกที่มีสิทธิจะได้รับบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการชั้นที่ ๑ แต่ยังไม่ได้รับ จะได้รับการสงเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
         ๑.๑ จ่ายเงินสงเคราะห์ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าอุปกรณ์ การศึกษา และอื่นๆที่จำเป็นเท่าที่จ่ายไปจริง หรือเห็นเป็นการสมควร
         ๑.๒ จ่ายเงินสงเคราะห์ค่าเครื่องแต่งกายตามแบบที่โรงเรียนกำหนด
         ๑.๓ จ่ายเงินสงเคราะห์ค่ออาหารเฉพาะวันที่เข้าเรียน
         ๑.๔ นักเรียนที่เข้าอยู่ในโรงเรียนประจำจะได้รับการสงเคราะห์ค่าเครื่องแต่งกาย และค่าอาหารเพิ่มเติมจากข้อ ๑ ตามอัตราการสงเคราะห์ที่กำหนดในแต่ละระดับชั้นเรียน
         ๑.๕ ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ จะได้รับการสงเคราะห์การศึกษาจนจบระดับปริญญาตรีนอกประเทศ โดยจ่ายเงินสงเคราะห์ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าอุปกรณ์การศึกษา และือื่นๆ คนละไม่เกิน ๑๒,๐๐๐ บาท แบ่งจ่ายเป็นรายปี ปีละ ๓,๐๐๐ บาท
     ๒. ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๒, ๓ และ ๔ จะได้รับการสงเคราะห์การศึกษาจนจบระดับปริญญาตรีทั้งในและนอกประเทศ โดยจ่ายเงินสงเคราะห์ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมค่าบำรุง ค่าอุปกรณ์การศึกษา และืื่ือื่นๆ คนละไม่เกิน ๑๒,๐๐๐ บาท แบ่งจ่ายเป็นรายปีๆ ละไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท
     ๓. สงเคราะห์เป็นทุนการศึกษาแก่บุตรทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๒, ๓ และ ๔
เพื่อศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า จนจบปริญญาตรีในประเทศคนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ต่อปีการศึกษาโดยการสอบคัดเลือกตามจำนวนทุนที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกกำหนดในแต่ละปี
     ๔. จ่ายเงินสงเคราะห์การศึกษาแก่บุตรของทหารผ่านศึก ที่กำลังกระทำหน้าที่ในการสงครามหรือในการรบหรือป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปรามจลาจล ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
           ๔.๑ จ่ายเงินสงเคราะห์ค่าบำรุงการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐบาลและค่าธรรมเนียม
การเรียนในสถานศึกษาของเอกชน ในหลักสูตรไม่สูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ
เทียบเท่า
           ๔.๒ การจ่ายเงินช่วยเหลือตามข้อ ๔.๑ จะให้การสงเคราะห์ในกรณีที่ทางราชการไม่ช่วยเหลือตามอัตราที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
           ๔.๓ บุตรหทารผ่านศึกผู้มีสิทธิได้รับการสงเคราะห์ ต้องมีอายุไม่เกิน ๒๐ ปี บริบูรณ์
     ๕. ทุนการศึกษา 
           ๕.๑ อผศ. ให้การสงเคราะห์เป็นทุนการศึกษาแก่บุตรของทหารผ่านศึกนอกประจำการบัตรชั้นที่ ๒ บัตรชั้นที่ ๓ และบัตรชั้นที่ ๔ เพื่ิอศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเทียบเท่า จนจบปริญญาตรีในประเทศ ในวงเงินทุนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ต่อปีการศึุกษา โดยการสอบชิงทุน (อผศ. เริ่มให้ทุนการศึกษาตั้นแต่ พ.ศ.๒๕๐๙)
           ๕.๒ เงินทุนบริจาค นอกจาก อผศ. จะดำเนินการช่วยเหลือด้านเิงิืนทุนการศึกษาแก่บุตรทหารผ่านศึกและทหารนอกประจำการตามข้อบังคับของ อผศ. แล้ว ยังมีหน่วยงานและเอกชนบริจาคเงินทุนการศึกษา
หลักฐาน
(ที่ต้องนำมาแสดงในการขอรับการสงเคราะห์ ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑)
     ๑. บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ หรือบัตรครอบครัวทหารผ่านศึก
         บัตรชั้นที่ ๑
     ๒. สำเนาทะเบียนสมรส
     ๓. สำเนาทะเบียนบ้าน
     ๔. หนังสือรับรองการเป็นนักเรียนและนักศึกษา
     ๕. ระเบียบการของโรงเรียน
      ๖. ต้องยื่นคำร้องให้เสร็จสิ้นไม่เกินปีการศึกษาถัดไป 
 หลักฐาน
 (ที่ต้องนำมาแสดงในการขอรับการสงเคราะห์ ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๒, ๓, ๔)
      ๑. บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ
      ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน
      ๓. หนังสือรับรองการเป็นนักเรียนและนักศึกษา (กสก.๒)
      ๔. ระเบียบการของโรงเรียน
      ๕. ต้องยื่นคำร้องให้เสร็จสิ้นไม่เกินปีการศึกษาถัดไป
  หลักฐาน (เพิ่มเติมแล้วแต่กรณี)
       ๑. การขอรับการสงเคราะห์การศึกษาของบุตร
           - สำเนาสูติบัตรของบุตร
       ๒. ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุงการศึกษา
           - ใบเสร็จรับเงิน
           - ใบอนุญาตของกระทรวงศึกษาธิการ (กรณีโรงเรียนเอกชน)
       ๓. ค่าอุปกรณ์, เครื่องแต่งกาย และค่าอยู่ในโรงเรียนประจำ
           - หนังสือรับรองผลการศึกษาและความประพฤติ (กสก.๓)
       ๔. ค่าอาหาร
            - หนังสือรับรองเวลาเรียน (กสก.๔)
       ๕. ทุนการศึกษา (กสก.๗)
            - สูติบัตรของบุตร
            - สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ, ชื่อสกุล ในกรณีชื่อหรือชื่อสกุลไม่ตรงกับหลักฐาน
              ที่ใช้
            - หนังสือรับรองความเห็นแพทย์ของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลของทางราชการ
๑๕. การสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาล
         การสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาล ให้แก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการทุกชั้นบัตร และผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึกชั้นที่ ๑
     ๑. ทหารผ่านศึกนอกประจำการทุกชั้นบัตร และครอบครัว ครอบครัวละปีละไม่เกิน ๓,๐๐๐ 
         บาท
     ๒. ผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึกชั้นที่ ๑ คนละปีละไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท
หลักฐาน 
      - บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ หรือผู้ถือบัตรประจำครอบครัวทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่๑
      - ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง พร้อมใบสรุปหน้างบค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาลของทางราชการ หรือโรงพยาบาลเอกชน
      - ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
      - กรณีเบิกให้ครอบครัว ต้องนำหลักฐานเพิ่มเติม ดังนี้
          ก. มารดา ใช้ทะเบียนบ้านของทหารผ่านศึกและทะเบียนบ้านของมารดา
          ข. บิดา ใช้ทะเบียนสมรสของบิดาและมารดาทหารผ่านศึก
          ค. ภรรยา ใช้ทะเบียนสมรสของทหารผ่านศึกและภรรยา
          ง. บุตร ใช้ทะเบียนสมรสของทหารผ่านศึกและภรรยา พร้อมสูติบัตรบุตรหรือสำเนา
              ทะเบียนบ้านที่มีชื่อบุตร
       - ในกรณีที่ไม่สามารถมาดำเนินการได้ด้วยตนเอง ให้จัดทำหนังสือมอบอำนาจตาม แบบที่ กำหนด
       - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
คำแนะนำ
ในการทำเรื่องมอบอำนาจการเบิกค่ารักษาพยาบาล
เอกสารประกอบในการยื่นเรื่องมอบอำนาจ
*** หลักฐานของผู้มอบอำนาจ (ทหารผ่านศึก) ***
๑. สำเนาบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกฯ (นำเอกสารฉบับจริงมาด้วย)
๒. สำเนาทะเบียนบ้าน (นำเอกสารฉบับจริงมาด้วย)
(เอกสารทุกฉบับลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วย
*** หลักฐานของผู้รับมอบอำนาจ ***
๑. สำเนาบัตรข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวประชาชน (นำเอกสารฉบับจริงมาด้วย)
๒. สำเนาทะเบียนบ้าน (นำเอกสารฉบับจริงมาด้วย)
(เอกสารทุกฉบับลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วย)
          หากเป็นการเบิกส่วนเกินสิทธิค่ารักษา ฯ ภายหลังการเบิกจากหน่วยราชการอื่น ซึ่งพิจารณาจ่ายแล้วต้องให้เจ้าหน้าที่ อผศ. ตรวจเอกสารจากหน่วยราชการนั้น ก่อนเขียนคำร้องขอมอบอำนาจฯ
๑๖. การสงเคราะห์ค่าจัดการศพ
            ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกที่กำลังกระทำหน้าที่ในการสงครามหรือในการรบหรือป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปรามการจลาจล ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดและครอบครัว ทหารผ่านศึกที่ได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์หรือเหรียญซึ่งมีสิทธิจะทำบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ ทหารผ่านศึกนอกประจำการทุกชั้นบัตร และผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ ๑ สำหรับบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เว้นบุตรที่พิการทุพพลภาพหรือพิการจนเป็นอุปสรรคสำคัญในการประกอบอาชีพ ให้ได้รับการสงเคราะห์จ่ายเพียงครั้งเดียวคนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ต้องยื่นคำร้องภายในเวลา ๑ ปี นับตั้งแต่วันถึงแก่ความตาย หรือวันที่ทายาทหรือผู้จัดการศพ ทราบการถึงแก่ความตาย
     หลักฐาน
          - คำสั่งปฏิบัติหน้าที่ หรือบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ หรือผู้ถือบัตร
            ประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ ๑ (เว้นแต่บุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว) หรือ
            หลักฐานการได้รับพระราชทานเหรียญ (สำเนาราชกิจจานุเบกษาพร้อมบัตร หรือ
            บัตรประจำตัวประชาชน)
          - มรณบัตร
          - หนังสือรับรองการเป็นผู้จัดการศพ (กสก.๑) จากทางวัด หรือใบสำคัญการสมรส 
            (กรณีภรรยา)
          - สำเนาทะเบียนบ้าน (ของผู้ตายและผู้รับเงิน)
          - บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ (ของผู้รับเงิน)
๑๗. การสงเคราะห์เงินช่วยเหลือแก่ทายาท
           ให้การสงเคราะห์แ่ก่ทายาทของทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ ที่พิการทุพพลภาพหรือพิการจากการปฏิบัติหน้าที่ และได้รับเงินเลี้ยงชีพรายเดือน เมื่อถึงแก่ความตายให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ทายาทเพียงครั้งเดียว ซึ่งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกจะหักเงินเท่ากับเงินเลี้ยงชีพพิเศษที่ทหารผ่านศึกได้รับไปแล้วถ้าหากมีเสียก่อน ดังนี้
      ๑. ผู้ที่ได้รับบำนาญพิเศษ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ทายาทเป็นจำนวนหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
      ๒. ผู้ที่ไม่ได้รับบำนาญพิเศษ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ทายาทเป็นจำนวนหนึ่งแสนแปดหมื่น
          สองพันเจ็ดร้อยบาท
   ทายาทผู้มีสิทธิประกอบด้วย
       - บุตรและให้หมายความรวมถึงบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วด้วย
       - สามีหรือภรรยา
       - บิดามารดา
    หลักฐาน
       - สำเนาบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑
       - สำเนาทะเบียนบ้านของทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑
       - หลักฐานเกี่ยวกับการตายของตัวทหารผ่านศึก เช่น มรณบัตร หรือ คำสั่งศาลสำหรับผู้ที่
         ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
       - หนังสือรับรองการรับเงินบำนาญพิเศษ
     ๑. หลักฐานเกี่ยวกับการเป็นทายาทของตัวทหารผ่านศึก ได้แก่
         ๑.๑ หลักฐานเกี่ยวกับบิดามารดา
               ๑.๑.๑ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้ ของบิดา
                        มารดา (กรณียังมีชีวิตอยู่)
               ๑.๑.๒ สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (กรณียังมีชีวิตอยู่) หรือมรณบัตร หรือ
                        หนังสือรับรองการตายจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง กรณีที่ได้ตายไปก่อนแล้ว
               ๑.๑.๓ หลักฐานการเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของตัวทหารผ่านศึก ได้แก่
                        ๑.๑.๓.๑ ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรสของบิดา มารดา หรือ
                        ๑.๑.๓.๒ หนังสือรับรองของผู้ที่ควรเชื่อถือได้ ที่รับรองว่าบิดามารดา ได้
                                     สมรสก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๗๘ หรือ 
                        ๑.๑.๓.๓ สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสูติบัตรของบุตรร่วมบิดา มารดา เดียวกัน
                                     กับตัวทหารผ่านศึกผู้ตาย ซึ่งเกิดภายในปี พ.ศ.๒๔๗๘ หรือ
                                     ก่อนนั้น
         ๑.๒ หลักฐานเกี่ยวกับคู่สมรส ได้แก่
               ๑.๒.๑ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้
               ๑.๒.๒ ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรส
               ๑.๒.๓ สำเนาทะเบียนบ้าน
               ๑.๒.๔ สำเนามรณบัตร หรือหนังสือรับรองการตาย กรณีคู่สมรสได้ตายไปก่อนแล้ว
               ๑.๒.๕ สำเนาทะเบียนการอย่า หรือใบสำคัญการอย่า หรือคำสั่งศาลกรณีที่มีการอย่า
         ๑.๓ หลักฐานเกี่ยวกับบุตร
               ๑.๓.๑ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ (เฉพาะผู้ที่มีอายุ
                        ถึงเกณฑ์ต้องทำบัตร)
               ๑.๓.๒ สูติบัตร หรือสำเนาทะเบียนบ้าน
               ๑.๓.๓ ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรสของบิดา มารดา หรือสำเนาทะเบียน
                         การรับรองบุตร หรือคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตร
               ๑.๓.๔ สำเนามรณบัตร หรือหนังสือรับรองการตายของผู้ที่ควรเชื่อถือได้ กรณีที่มี
                         บุตรตาย
               ๑.๓.๕ ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม กรณีที่ตัวทหารผ่านศึกผู้ตายได้จดทะเบียนรับ
                         เป็นบุตรบุญธรรม ก่อนการเป็นทหารผ่านศึก

 

-----------------------------------------------------------------------------------

การให้การสงเคราะห์

การติดต่อขอรับการสงเคราะห์ประเภทต่างๆ จากสำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขต 
จำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการสงเคราะห์  ดังนี้
การขอทำบัตรประจำตัวทหารผ่านศึก
1. การขอมีบัตรใหม่  ต้องใช้เอกสารประกอบ ดังนี้         
    - คำสั่งปฏิบัติหน้าที่ และคำสั่งพ้นหน้าที่
    - สำเนาราชกิจจานุเบกษา พระราชทานเหรียญต่างๆ (ถ้ามี)
    - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการบำนาญ
    - สำเนาทะเบียนบ้าน
    - ส.ด.8 กรณีเป็นทหารกองหนุน
    - คำสั่งแต่งตั้งยศ กรณีทหารกองประจำการ มียศเป็นสิบตรีกองประจำการ
      และผู้ที่เคยรับราชการทหาร ยศตั้งแต่ สิบตรี ถึง พลเอก
    - คำสั่งเกษียณอายุราชการ หรือคำสั่งลาออก กรณีเคยรับราชการมาก่อน
    - รูปถ่ายสี หรือขาวดำ ขนาด 1 นิ้ว ใส่สูทสากล ผูกเนคไท จำนวน 3 รูป
    - เอกสารอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ - นามสกุล, ใบหย่า, ทะเบียนสมรส,
      หนังสือไม่ขอใช้ นามสกุลสามี ที่ทางราชการออกให้
2. การขอเปลี่ยนบัตร  ต้องใช้เอกสารประกอบ ดังนี้
    - สำเนาบัตรประจำตัวทหารผ่านศึก
    - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    - สำเนาทะเบียนบ้าน
    - รูปถ่ายสี หรือขาวดำ ขนาด 1 นิ้ว ใส่สูทสากล ผูกเนคไท จำนวน 3 รูป
    - สำเนาใบแจ้งความจากสถานีตำรวจ (กรณีบัตรสูญหาย)
    - เอกสารอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ นามสกุล, ใบหย่า, ทะเบียนสมรส,
      หนังสือไม่ขอใช้ นามสกุลสามี ที่ทางราชการออกให้

เบิกค่ารักษาพยาบาล  ต้องใช้เอกสารประกอบ ดังนี้
- ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (เก็บไว้ได้ไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ใบเสร็จออก)
- บัตรประจำตัวทหารผ่านศึก (พร้อมสำเนา)
- สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีเบิกของภรรยา และบุตร)
- สำเนาทะเบียนสมรส บิดา - มารดา (กรณีเบิกของบิดา)
- สำเนาทะเบียนบ้าน บุตร หรือใบสูติบัตร (กรณีเบิกของบุตร)
- สำเนาทะเบียนบ้านของทหารผ่านศึก (กรณีเบิกของบิดา - มารดา)

เบิกค่าจัดการศพ  ต้องใช้เอกสารประกอบ ดังนี้
- มรณะบัตร (ฉบับจริง) พร้อมถ่ายสำเนา
- บัตรประจำตัวทหารผ่านศึก หรือสำเนาราชกิจจานุเบกษา
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เสียชีวิต (ที่จำหน่ายตายแล้ว)
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับเงิน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับเงิน
- ทะเบียนสมรสของผู้เสียชีวิต และภรรยา (กรณีภรรยา มารับเงิน)
- หนังสือรับรองการเป็นผู้จัดการศพ (กสก.1)
  (กรณีบุคคลอื่นรับเงิน เช่น บิดา, มารดา, บุตร หรือญาติพี่น้อง)

เบิกค่าเล่าเรียน  
ทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ 2, 3 และ 4 มีสิทธิเบิกค่าเล่าเรียนจนจบปริญญาตรี
ได้ปีการศึกษาละไม่เกิน 3,000.- บาท แต่ไม่เกิน 4 ปี  ทั้งนี้ ต้องขออนุมัติเข้าเรียนก่อน
1. การขออนุมัติเข้าเรียน  ต้องใช้เอกสารประกอบ ดังนี้
    - หนังสือรับรองการเป็นนักเรียน นักศึกษา (กสก.2)
    - ระเบียบการเรียน (แผนการเรียน)
    - สำเนาบัตรประจำตัวทหารผ่านศึก
    - สำเนาทะเบียนบ้าน
2. การขอเบิกค่าเล่าเรียน  ต้องใช้เอกสารประกอบ ดังนี้
    - หนังสือรับรองการเป็นนักเรียน นักศึกษา (กสก.2) ใช้ทุกครั้งที่ขอเบิกเงิน
    - สำเนาบัตรประจำตัวทหารผ่านศึก
    - ใบเสร็จค่าเล่าเรียน

เบิกค่าประสบภัยพิบัติ  (ให้ติดต่อ ผศ.ร.บ. เพื่อขอรับเอกสาร โดยด่วน)
1. ที่อยู่อาศัยประสบภัยพิบัติ 
    - กรณีบ้านพักอาศัยได้รับความเสียหายบางส่วน
      จะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริง แต่ไม่เกิน 5,000.- บาท
    - กรณีบ้านพักอาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลัง
      จะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริง แต่ไม่เกิน 10,000.- บาท
2. พืชผลทางการเกษตร สัตว์เลี้ยง จะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริง
แต่ไม่เกิน 2,000.- บาท
3. ยื่นคำร้อง ภายใน 120 วัน  นับแต่วันประสบภัยพิบัติ

การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสมัครเข้าเป็นสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
ทหารผ่านศึกทุกชั้นบัตร  ที่มีอายุไม่เกิน 65 ปี (โดยถือปีเกิดเป็นเกณฑ์)
และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
1. ทหารผ่านศึก  ต้องใช้เอกสารประกอบ ดังนี้
    - สำเนาบัตรประจำตัวทหารผ่านศึก
    - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน
    - ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลของรัฐ เท่านั้น
    - สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารทหารไทย
    - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับผลประโยชน์
    - สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับผลประโยชน์
2. ครอบครัวทหารผ่านศึก (บิดา มารดา ภรรยา หรือสามี) ที่มีอายุไม่เกิน 65 ปี
ต้องใช้เอกสารประกอบเช่นเดียวกับทหารผ่านศึก  และมีเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    - ทะเบียนสมรส บิดา มารดา ภรรยา หรือสามี
    - บัตรประจำตัวประชาชน
    - สำเนาทะเบียนบ้าน และใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลของรัฐ 
3. การรับเงิน ค่าฌาปนกิจสงเคราะห์ 
    3.1 หลักฐาน ผู้ตาย
          - มรณะบัตรฉบับจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด
          - ทะเบียนบ้านผู้ตาย ที่จำหน่ายตายแล้ว พร้อมสำเนา 2 ชุด
    3.2 หลักฐาน ผู้รับผลประโยชน์
          - ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 2 ชุด
          - บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา 2 ชุด
          - หนังสือรับรองการเป็นผู้จัดการศพ พร้อมสำเนา 2 ชุด
          - สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารทหารไทย พร้อมสำเนา 2 ชุด

ไม่มีความคิดเห็น

รูปภาพธีมโดย enjoynz. ขับเคลื่อนโดย Blogger.